Translate

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การจำแนกกรรมโดยกิจ



 ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ข้อความในมโนรถปุรณีอรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์  จำแนกกรรมไว้ดังนี้ คือ
ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม อุปปัชชเวทนียกรรม  อปรปริยายเวทนียกรรม

 แสดงถึงการให้ผลของกรรมโดยกาล  ครุกรรม  พหุลกรรม  อาสันนกรรม  กฏัตตาวาปนกรรม  การให้ผลของกรรมโดยลำดับของกรรมที่เป็นกรรมที่มีกำลังมาก หรือกรรมที่ไม่มีกำลัง

การให้ผลของกรรม โดยกระทำกิจมี ๔ คือ
                       ชนกกรรม๑  อุปถัมภกกรรม๑  อุปปีฬกกรรม๑  อุปฆาตกกรรม๑

กรรมที่ได้กระทำไปแล้ว  แล้วแต่จะกระทำกิจใดใน ๔ กิจ.....

ชนกกรรม  คือ  กรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น

อุปถัมภกกรรม  คือ เมื่อวิบากอันกรรมอื่นทำให้เกิดแล้ว  อุปถัมภกกรรมย่อมตามสนับสนุนความสุขและความทุกข์ คือ ทำให้การได้รับวิบากที่เป็นสุข  หรือวิบากที่เป็นทุกข์ ยืดยาวและดำรงต่อไปอีก  เพราะเหตุว่า ทั้งกุศลกรรมและอกุศกรรมย่อมเป็นอุปถัมภกกรรม  คือ ทำกิจอุปถัมภ์ได้

อุปปีฬกกรรม  คือ เมื่อวิบากอันกรรมอื่นทำให้เกิดแล้ว  อุปปีฬกกรรมย่อมบีบคั้นเบียดเบียนความสุขความทุกข์  คือ ไม่ให้ความสุขก็ดี หรือความทุกข์ก็ดี ไม่ให้ยืดยาวต่อไป นั่นเป็นกิจของอุปปีฬกกรรม

อุปฆาตกกรรม  คือ  กรรมที่เป็นกุศลหรือกรรมที่เป็นอกุศลนั้น เป็นกรรมที่กำจัดกรรมที่มีกำลังอ่อนอย่างอื่นเสีย  ขัดขวางวิบากของกรรมนั้น  แล้วก็ย่อมจะทำโอกาสแก่่วิบากของตน

เพราะฉะนั้น ถ้าจะจำแนกกรรมโดยกิจ  ไม่มีผู้ใดสามารถรู้ได้โดยประจักษ์แจ้งว่า กรรมที่ได้กระทำแล้วในชาติก่อนและในอดีตอนันตชาติมาแล้ว กรรมใดทำให้ปฏิสนธิจิตในชาตินี้เกิดขึ้น  กรรมนั้นเป็นชนกกรรม

                                                   ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่าน
                                                   
                                                     ขออุทิศส่วนกุศลให้แก่สรรพสัตว์